วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

จุดหมายปลายทางของรัฐตามทรรศนะของอริสโตเติล

          ในเล่มที่หนึ่งของ Politics อริสโตเติล แบ่งแยกระหว่างการรวมตัวกันทางการเมืองและการรวมกันแบบอื่นๆ ครัวเรือน Occonomia ซึ่งเราได้คำว่า เศรษฐศาสตร์[Economics]มานั้นเกี่ยวข้องด้วยแต่ เพียงชีวิตคือ การให้กำเนิดในทางชีววิทยา การยังชีพและการบำรุงรักษา สิ่งเหล่านี้ คือ การรวมกันในลักษณะนี้คนเราไม่แตกต่างอะไรจากสัตว์ จากการรวมกันแบบนี้ก่อให้เกิดหมู่บ้าน และอาณาจักรย่อยๆเพื่อป้องกันตนเองและมักมีกษัตริย์อยู่ในตำแหน่งของบิดาผู้ดูแลควบคุม ความจริงที่ว่ามนุษย์โดยทั่วไปปกครองโดยกษัตริย์ในสมัยโบราณ และการปกครองรูปนี้ก็ยังคงคงมีอยู่บ้างในปัจจุบันนี้ คือ เหตุผลที่ชักนำให้เราทั้งหมดกล่าวว่า เทพเจ้าก็ปกครองกันโดยกษัตริย์เหมือนกัน เราสร้างชีวิตของเทพเจ้าตามอย่างชีวิตของเรา เช่นเดียวกันกับที่เราสร้างรูปร่างลักษณะของเทพเจ้านั่นเองแต่เมื่อจำนวนหมู่บ้านที่รวมกันเข้าได้บรรลุถึง ขนาดแห่งความเพียงพอในตัวเองแล้วเราก็ได้นครรัฐซึ่งเป็น การรวมตัวขั้นสุดท้ายและสมบูรณ์แต่เป็นการจำเป็นที่จะต้องจำกัดข้อความนี้ทันที่ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดอันเกิดจากการใช้คำว่า สมบูรณ์หรือเราอาจจะกล่าวได้ว่า ในขณะที่นครรัฐเติบโต(เกิดขึ้นมา)เพื่อเพียงแต่ชีวิตก็จริง แต่ทว่ามันคงอยู่เพื่อชีวิตที่ดี
            เพราะว่านครรัฐเป็นจุดสมบูรณ์ของการรวมกันซึ่งคงอยู่โดยธรรมชาติ นครรัฐทุกนครจึงมีอยู่โดยธรรมชาติ และมีคุณลักษณะอย่างเดียวกับการรวมตัวกันแบอื่นๆซึ่งมันเติบโตขึ้นมา มัน คือ จุดหมายปลายทาง[Telos]หรือจุดสุดยอดซึ่งการรวมตัวกันต่างๆเหล่านี้มุ่งไปสู่ และธรรมชาติของสิ่งต่างๆก็อยู่ที่จุดหมายปลายทาง หรือจุดสุดยอดของนครรัฐนั่นเอง เพราะสิ่งซึ่งแต่ละอย่างเป็นเมื่อการเจริญเติบโตของมันถึงจุดสมบูรณ์นั้น เราเรียกว่า นั่นคือ ธรรมชาติของสิ่งนั้นไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ หรือม้า หรือครอบครัว นั่นก็คือจุดหมายปลายทางหรือมูลเหตุสุดท้าย คือ สิ่งที่ดีที่สุด
            จากข้อพิจารณาเหล่านี้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า นครรัฐจัดอยู่ในชนิดของสิ่งซึ่งมีอยู่โดยธรรมชาติ และมนุษย์เรานั้นโดยธรรมชาติแล้วเป็นสัตว์ซึ่งต้องอยู่ในรัฐ
*      ขนาดเป็นแบบนครรัฐ[City State]ไม่ควรกว้างใหญ่เกินไป เพราะถ้าใหญ่จนเกินไปจะกลายเป็นอาณาจักร ทำให้เป็นอุปสรรคแก่การปกครองและการบังคับกฎหมาย ถ้าเล็กจนเกินไปจะทำให้ขาดความอุดมสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ
*      รัฐต้องพยายามเสริมสร้างชีวิตที่ดีให้กับคนในสังคมได้ นั่นหมายความว่าสร้างความสุขหรือความดีร่วมกัน อันจะก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมนั่นเองการที่คนจะมีความสุขได้นั้น จะต้องประกอบด้วยสิ่งดี 3 ประการ
*      สิ่งดีภายนอก
*      สิ่งดีแห่งร่างกาย
*      สิ่งดีแห่งจิตใจ
ท้ายสุด รัฐมีจุดหมายปลายทาง คือ เพื่อการมีชีวิตที่ดีของมนุษย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น