วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

รัฐที่ดีที่สุดตามทรรศนะของอริสโตเติล

*      ขนาดเป็นแบบนครรัฐ[City State]ไม่ควรกว้างใหญ่เกินไป เพราะถ้าใหญ่จนเกินไปจะกลายเป็นอาณาจักร ทำให้เป็นอุปสรรคแก่การปกครองและการบังคับกฎหมาย ถ้าเล็กจนเกินไปจะทำให้ขาดความอุดมสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ
*      รัฐต้องพยายามเสริมสร้างชีวิตที่ดีให้กับคนในสังคมได้ นั่นหมายความว่าสร้างความสุขหรือความดีร่วมกัน อันจะก่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นในสังคมนั่นเองการที่คนจะมีความสุขได้นั้น จะต้องประกอบด้วยสิ่งดี 3 ประการ
*      สิ่งดีภายนอก
*      สิ่งดีแห่งร่างกาย
*      สิ่งดีแห่งจิตใจ
แนวพิจารณาอริสโตเติลเกี่ยวกับรัฐสมบูรณ์แบบ ต่างจากการศึกษาของเพลโตใน อุตมรัฐเพราะว่าเชื่อว่าอุดมการณ์ไม่อาจบรรลุถึงได้ อริสโตเติลจึงดูสนใจกับอุดมการณ์ของรัฐที่ดีมากกว่าที่จะคิดวางแบบโครงสร้างอันสมบูรณ์ ซึ่งนึกฝันเอาแต่ปฏิบัติไม่ได้ เพราะฉะนั้นงานของอริสโตเติลจึงเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ทั่วไปในขอบเขตที่กว้างใหญ่ว่าเพลโต
ความใฝ่ฝันของรัฐตามความใฝ่ฝันของราษฎร เพราะฉะนั้นรูปของรัฐธรรมนูญในอุดมคติจะต้องแสดงถึงชีวิตที่ดี ปัจจัยประกอบของชีวิตที่ดีมีอยู่สามประการ คือ
*      สิ่งดีภายนอก
*      สิ่งดีของร่างกาย
*      สิ่งดีของจิตใจ
บุคคลที่สุขสมบูรณ์และมั่นคงต้องการทั้งสามอย่างนี้ แต่ต้องคำนึงถึงปัญหาลำดับก่อนหลังและความสำคัญสัมพันธ์ต่อกันให้เหมาะสม ความใส่ใจมากจนเกินไปกับสิ่งดีภายนอกซึ่งอริสโตเติล หมายถึง สิ่งของวัตถุนั้น ทำให้จิตใจผันแปรไป ผลทำนองเดียวกันอาจกล่าวได้สำหรับกรณีของ สิ่งดีของร่างกายหรือความพะวงอยู่กับสภาพร่างกาย สิ่งดีของจิตใจเป็นเรื่องสำคัญอันแท้จริงประกอบเป็นจุดหมายปรายทางของเรื่องมนุษย์ ส่วนสิ่งอื่นทั้งหมดจะเป็นประโยชน์หรือไม่นั้นสุดแต่มีส่วนส่งเสริมจุดหมายปรายทางนี้หรือไม่ รัฐธรรมนูญทั้งหลายอาจวินิจฉัยโดยอาศัยมาตรฐานนี้ รัฐที่ดีกำหนดวางลำดับก่อนหลัง เพื่อปลูกหลักธรรมในหมู่ราษฎรของตนแต่ให้สิ่งของวัตถุอยู่ภายใต้จุดหมายปรายทางนี้ รัฐที่ดีจะไม่ระรานหรือเป็นจักรวรรดินิยมเลย แต่สนใจแต่เพียงในเรื่องสันติภาพและการแก้ไขปรับปรุงภายใน แม้ว่าจะคงมีกำลังทหารอย่างเดียวเพียงพอเพื่อป้องกัน แต่รัฐจะไม่ใช้อำนาจทำร้ายเพื่อนบ้านของตน
มีขนาดสูงสุดสำหรับรัฐสมบูรณ์แบบ ความใหญ่ในตนเองไม่อาจวัดได้กับความดี หากคุณธรรมพึงกำหนดด้วยข้อที่ว่า รัฐปฏิบัติของตนและบรรลุถึงจุดหมายอย่างไร รัฐที่ใหญ่เกินไปจะพบว่ายากแก่การใช้บังคับกฎหมายและรัฐที่ดีจะต้องมีระเบียบอย่างดี ถ้าเล็กเกินไป รัฐจะขาดคุณธรรมในฐานะพอเลี้ยงตัวเองได้ อริสโตเติลคิดโตยเฉพาะในแง่ของรูปนครรัฐ ดังจะเห็นได้จากข้อยืนยันของอริสโตเติลว่าหน้าที่พลเมืองอาจปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมก็ต่อเมื่อ   ราษฎรรู้จักกันเป็นการส่วนตัว ในแง่ของดินแดนก็เช่นกัน หลักสายกลางจะต้องมีไว้ รัฐควรมีขนาดใหญ่พอที่จะปล่อยให้ราษฎรเลี้ยงชีพจากงานการของตน และได้มีเวลาว่างพอเพียงที่จะคิดอ่านและปฏิบัติหน้าที่ฐานะราษฎร แต่รัฐก็ไม่ควรใหญ่และร่ำรวยไปมากกว่านั้น เวลาว่างในความหมายเพื่อเสริมสร้างตามคติกรีกเป็นจุดหมายหรือไม่ใช่ความฟุ่มเฟือย
ในด้านตำแหน่งที่ตั้ง จะต้องคำนึงถึงข้อได้เปรียบทั้งในทางหารและพาณิชย์ รัฐจะต้องตั้งอยู่ในชัยภูมิที่อำนวยต่อการป้องกัน และเพื่อจุดประสงค์ด้านการเดินเรือและการค้าขายจะต้องมีทางออกทางทะเล แต่จำเป็นต้องมีข้อพึงระมัดระวังในเรื่องนี้ เป็นไปได้ที่รัฐจะกลับไปสนใจให้ความสำคัญอยู่กับอำนาจทางเรือและทรัพย์สมบัติที่หลั่งไหลมาจากการพาณิชย์ทางทะเลกำลังเดินเรือจะต้องเหมาะสมสำหรับการป้องกัน แต่เจ้าหน้าที่ทางเรือจะต้องอยู่นอกสังคมการเมือง หาไม่แล้วจำนวนคนเหล่านี้ (อริสโตเติล หมายถึง คนฝีพายจำนวนมากที่ใช้ประจำเรือสมัยนั้น) จะทำให้สามารถมีอำนาจเหนือกลุ่มราษฎรได้ ในแง่การพาณิชย์ รัฐควรซื่อสิ่งที่จำเป็นและขายสิ่งเหลือใช้ออกไป แต่ก็ไม่ควรตั้งตนเป็นนายหน้าหรือพ่อค้าดินเรือให้กับรัฐอื่นๆและมุ่งจุดหมายควรเป็นเพื่อเลี้ยงตัวเอง ไม่ใช่เพื่อผลกำไร

มีงานหน้าที่ 6 อย่างที่จะต้องปฏิบัติในรัฐ คือ
*      เกษตรกรรม
*      ศิลปกรรมและงานฝีมือ
*      การป้องกัน
*      กรรมสิทธิ์ที่ดิน
*      ศาสนา
*      การปกครอง
โดยทั่วไปมีคนสองประเภทอยู่ในรัฐ คือ
*      ราษฎรที่สมบูรณ์
*      คนที่มีหน้าที่ปฏิบัติงาน
ซึ่งทำให้ราษฎรเป็นอิสระที่จะแสวงและได้ดำรงชีวิตที่ดี ปัญหาจึงเกิดมีว่า งานหน้าที่ดังกล่าวจะแบ่งสรรกันให้เหมาะสมอย่างไร หน้าที่ด้านเกษตรกรรม ศิลปกรรมและการช่าง เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและกำลังพยายามมากเกินไปสำหรับราษฎร ซึ่งถ้าต้องปฏิบัติหน้าที่แล้ว ก็ไม่สามารถทุ่งเทเวลาได้เพียงพอให้กับหน้าที่สูงกว่า การทำไร่ งานช่างและการพาณิชย์ จะต้องเป็นงานของชนชั้นที่แยกต่างหากและต่ำกว่า หน้าที่ 3 อย่างที่สูงกว่า คือ
*      การป้องกัน
*      ศาสนา                จะต้องปฏิบัติโดยราษฎร
*      รัฐกิจ
แต่ไม่ใช่โดยราษฎรพวกเดียวกันทั้ง 3 หน้าที่ เพราะคนไม่ทั้งหมดที่สามารถทำหน้าแต่ละอย่างได้ดี ทางที่ดีที่สุด คือ จัดให้หน้าที่ป้องกันอยู่กับราษฎรในวัยฉกรรจ์กว่า ให้หน้าที่ปกครองอยู่กับราษฎรวัยกลางคน และหน้าที่ศาสนาอยู่กับราษฎรวัยชรา ด้วยวิธีนี้ ราษฎรแต่ละคนจะปฏิบัติหน้าที่ทุกอย่างหมดแต่เฉพาะเพียงชั่วระยะนั้นๆในชีวิตของคน ขณะเมื่อมีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดสำหรับทำหน้าที่ของตนจากการศึกษาอบรมและอารมณ์นึกคิด
            งานบริการเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นเรื่องที่ราษฎรทั้งหมดมีส่วนร่วม หากเป็นการจัดระเบียบที่ซับซ้อนขึ้น อริสโตเติลเสนอว่า ที่ดินบางแห่งจะต้องเป็นของกลางเพียงพอที่จะให้ผลผลิตสำหรับให้มีระบบเลี้ยงร่วมกันในหมู่ราษฎร และส่งเสริมสถาบันประกอบศาสนกิจสาธารณะ ระบบนี้จะช่วยสร้างความกลมกลืนและเอกภาพระดับหนึ่งในรัฐ ที่ดินนอกนั้นจะเป้นของส่วนตัว เจ้าของแต่ละคนจะครองที่ดิน 2 แปลง       
*      แปลงหนึ่งใกล้เมือง
*      และอีกแปลงหนึ่งอยู่ในท้องที่ชายแดน
จุดประสงค์จองการจุดการแบบนี้ก็เพื่อก่อให้เกิดจุดมุ้งหมายร่วมกันในกรณีเกิดสงครามชายแดน ด้วยการจัดให้ราษฎรเสี่ยงเท่าๆกัน อีกอย่างหนึ่งได้แก่รัฐซึ่งราษฎรถือครองที่ดิน แต่ทาสหรอบ่าวเป็นผู้ทำงานจริงๆ
อีกครั้งหนึ่ง รัฐที่ดีที่สุด ได้แก่ รัฐซึ่งสามารถมากที่สุดที่จะช่วยส่งเสริมให้ราษฎรของตนบรรลุถึงชีวิตที่ดี มีสามทางที่ราษฎรอาจได้มาซึ่งความดีเช่นว่านั้น คือ
*      สมบัติโดยธรรมชาติ
*      อุปนิสัยอันเหมาะสม
*      หลักการอันอุดมเหตุผล หรือความสามารถใช้เหตุผล
อันแรก คือ สมบัติโดยธรรมชาตินั้น ในส่วนสำคัญแม้จะไม่ทั้งหมดทีเดียวเป็นเรื่องอยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐ คนเกิดมาพร้อมด้วยความสามารถบางอย่าง ซึ่งโดยทั่วไปรัฐไม่อาจเพิ่มเติมขึ้นได้
แต่ส่วนอีกสองทาง คือ อุปนิสัยอันเหมาะสมและความสามารถใช้เหตุผล อันมีส่วนกระทบและปรับปรุงได้ด้วยการศึกษา หน้าที่สำคัญที่สุดของนักนิติบัญญัติอยู่ที่จะปรับปรุงคุณภาพเหล่านี้แก่ราษฎร เพื่อส่งเสริมให้แต่ละคนมีทางอันอำนวยได้มากที่สุดที่จะบรรลุถึงชีวิตที่ดีได้ ถึงจุดนี้ ความคิดของอริสโตเติลเกี่ยวกับแผนการรัฐสมบูรณ์แบบก็แปรรูปโฉมเป็นบทเขียนว่าด้วยการศึกษาเป็นสาระสำคัญรัฐที่ดีย่อมให้การศึกษาเพื่อบรรลุถึงความดี ปัญหาใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของระบบการศึกษาที่ควรจัดขึ้น อริสโตเติลไม่ได้วางรูปโครงระบบการศึกษาอันเหมาะสมของตนอย่างบริบูรณ์หากมีลักษณะบางอย่างที่ชวนคิด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น