วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฏีการเมือง ลักษณะวิทยาศาสตร์

  เป็นการนำหลักการของวิธีการแสวงหาความรู้/การแสวงหาความจริงของวิทยาศาสตร์เพื่อมาอธิบายทฤษฏีการเมือง  ดังนั้น ทฤษฏีการเมืองมีลักษณะวิทยาศาสตร์ คือ การนำวิธีการของวิทยาศาสตร์มาอธิบายทฤษฏีการเมือง พร้อมที่จะสามารถพิสูจน์ตามข้อเท็จจริงที่วิทยาศาสตร์ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับ สาระ คำอธิบาย และความหมายโดยทั่วไป ทฤษฏีการเมืองจะต้องเป็นผลที่ได้มาจาการศึกษาค้นคว้าและต้องสามารถที่จะพิสูจน์ไห้ได้ว่าเป็นความจริงที่ยอมรับกันได้


ทฤษฏีการเมือง   มีลักษณะ 3 ประการ คือ
1.ข้อเท็จจริง  ข้อมูลที่ได้รับมาจากการศึกษา รวบรวม ความเป็นจริง
2.หลักทั่วไป  ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบข้อมูลเหล่านั้นจากสภาพที่เป็นจริงในสังคม
3.คุณค่า   ประโยชน์ที่พึงจะเกิดขึ้นได้และน่าที่จะเป็นเหตุเพียงพอที่จะใช้เป็นแนวปฏิบัติ

การนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษานั้น นักรัฐศาสตร์ในกลุ่มนี้ได้พยายามที่จะพัฒนาทฤษฏีเชิงประจักษ์ [Empirical Theory] ซึ่งเป็นคำอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆในลักษณะที่เป็นการวางนัยโดยทั่วไป [Generalization]เพื่อให้สามารถบรรยาย อธิบาย และทำนายปรากฏการณ์ทางการเมืองได้อย่างกว้างขวาง


1.เป็นระบบ [Systematization]
 การศึกษารัฐศาสตร์จะต้องมีความเป็นระบบทั้งกระบวนการ วิธีการ และข้อค้นพบ เพื่อให้ทฤษฏีและความเป็นจริงมีความผสมกลมกลืน สอดคล้องกันอย่างเป็นระเบียบ[Wall Organization]
2.มีกฎเกณฑ์ [Regularities]
 ในการศึกษาต้องถือว่าพฤติกรรมทางการเมืองที่ศึกษาทั้งหลายมีกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ในโครงสร้างของตัวมันเองอย่างเป็นระเบียบแบบแผนและมีรูปแบบของตนเองซึ่งสามารถค้นพบได้ ในการศึกษาจึงต้องศึกษาถึงรูปแบบและกฎเกณฑ์พฤติกรรมการเมืองดังกล่าวเพื่อให้ได้ข้อสรุปโดยทั่วไปที่มีความเป็นทฤษฏีเพียงพอในการบรรยาย อธิบาย และทำนายพฤติกรรมทางการเมืองอื่นๆที่เกี่ยวข้องและตามมา
3.มีเทคนิค [Techniques]


ในการศึกษาวิธีการที่ใช้ต้องมีโครงสร้างของกระบวนการ ขั้นตอนวิธีการที่ชั้นเจน ทั้งในด้านการแจกแจง อธิบายตัวแปร การออกแบบวิธีการศึกษา ตลอดจนการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อผลในการศึกษาซ้ำ หรือตรวจสอบข้อสรุปทั่วไปที่น่าสงสัยหรือเห็นว่า
4.ตรวจสอบได้ [Verification]
ข้อค้นพบจากการศึกษาต้องมีการบันทึกเป็นข้อสรุปทั่วไปเพื่อที่จะสามารถตรวจสอบความถูกต้องหรือตรวจสอบซ้ำได้
5.ใช้วิธีการเชิงปริมาณ [Quantification]
ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลในสภาพความเป็นจริง มีมาตรฐานและกฎเกณฑ์ในการแปลความหมายของข้อมูลอย่างเป็นปรนัย และแม่นตรง การใช้วิธีการเชิงปริมาณจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นปรนัย และแม่นตรง โดยปราศจากความอำเอียงของผู้เก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไปเกี่ยวข้อง อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบความแม่นตรงและความเป็นปรนัยของข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ และยังเป็นประโยชน์ในการจัดกระทำกับข้อมูลดังกล่าวด้วยวิธีการทางสถิติทำไห้ข้อค้นพบและแปลความหมายเป็นไปตามสภาพความเป็นจริงสำหรับนักวิเคราะห์ทุกคน
6.ปลอดจากค่านิยม [Value-Free]
การศึกษารัฐศาสตร์โดยทั่วไป ปทัสถานและค่านิยมทางสังคมจะถูกนำมาใช้ในการอธิบายพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคล ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ค่านิยมเป็นตัวชี้นำความคิดของผู้ศึกษาวิเคราะห์ว่าควรเป็นเช่นไรตามที่ค่านิยมของสังคมขณะนั้นเป็นอยู่ การศึกษารัฐศาสตร์โดยวิธีการวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นไปตามข้อมูลประจักษ์ที่ได้รับในขณะนั้น แม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับค่านิยมของสังคม อย่างไรก็ตามการปลอดจากค่านิยมนี้มิได้หมายความว่าห้ามนักรัฐศาสตร์ทำการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมหรือจริยธรรม แต่หมายถึงการแปลความหมายของข้อมูล และข้อค้นพบบนรากฐานของความเป็นจริงของข้อมูลมากกว่าการปล่อยให้ค่านินมและจริยธรรมชี้นำความคิด
7.มุ่งความเป็นศาสตร์บริสุทธิ์ [Pure Science]
การศึกษารัฐศาสตร์จะต้องมีเป้าหมายสำคัญในการหาความรู้ที่ถูกต้องทั้งที่เป็นความเชื่อเดิมและความเชื่อใหม่ก่อนที่จะหวังผลในการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาของสังคม
8.บูรณาการ[Integration]
การศึกษารัฐศาสตร์จะต้องมีลักษณะผสมผสานศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษาให้มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น